แชร์

"ข้อเท้าแพลง" อย่านิ่งนอนใจ ต้องรีบรักษา

อัพเดทล่าสุด: 4 ต.ค. 2023
196 ผู้เข้าชม

"ข้อเท้าแพลง" อย่านิ่งนอนใจ ต้องรีบรักษา

ข้อเท้าแพลง มีอาการอย่างไร?
ข้อเท้าแพลง เกิดจากการบิด หมุน หรือพลิกของข้อเท้าอย่างรวดเร็วจนเกินช่วงการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ทำให้เอ็นยึดข้อต่อถูกยืดออกมากจนเกินไป หรือฉีกขาดจึงเกิดการบาดเจ็บขึ้น มีอาการปวดและบวม หากรุนแรงอาจส่งผลให้เอ็นขาดทำให้ข้อเท้าหลวมได้

 อาการข้อเท้าแพลงแบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ระดับ คือ
1. ข้อเท้าแพลงชนิดไม่รุนแรง มีอาการปวด บวม เล็กน้อย
2. ข้อเท้าแพลงชนิดปานกลาง มีการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน ทำให้มีอาการปวด บวม เฉพาะที่และอาจมีเลือดคั่ง
3. ข้อเท้าแพลงชนิดรุนแรง มีการฉีกขาดของเอ็นข้อเท้าทางด้านนอกทั้งหมด ทำให้ข้อเท้าสูญเสียความมั่นคง เดินลงน้ำหนักไม่ได้ ปวด บวมมากและมีเลือดคั่ง อาจต้องผ่าตัด

อาการและอาการแสดง
1.มีอาการปวด บวม แดง ที่ข้อเท้า
2.ลงน้ำหนักเท้าแล้วมีอาการปวด
3.เคลื่อนไหวข้อเท้าแล้วมีอาการปวด
4.มีรอยช้ำเลือดบริเวณข้อเท้า

 การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
>>>ในกรณี 1-72 ชั่วโมงแรก ตามหลัก "RICE"
1.หยุดการใช้งานข้างที่บาดเจ็บคือเลี่ยงการลงน้ำหนัก R : (rest)
2.ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณที่มีการอักเสบคือ มีบวม แดง ร้อน 5-10 นาที 2-3 ครั้งต่อวัน อาจใช้ผ้ายืดพันร่วมด้วย
( I:ice , C: compresstion )
3.นอนยกข้อเท้าให้สูง โดยอาจนำหมอนมาหนุนเพื่อลดบวม (E :elevate )
4.ห้ามกดนวด หรือใช้ยานวดทาบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บ หากอาการเจ็บปวด บวม ไม่ลดลงควรไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด

 ระยะหลังบาดเจ็บ > 2 วันขึ้นไปเมื่ออาการบวมและปวดลดลง
1.เริ่มการใช้การประคบอุ่น
2.การบริหารข้อเท้าเบา ๆ เพื่อป้องกันข้อติด
3.การยืดกล้ามเนื้อน่อง เข่า ต้นขาเพื่อลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
4.การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความมั่นคงของข้อเท้าของข้อเท้า

ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสให้เกิดข้อเท้าแพลง เช่น
 การก้าวพลาดหรือหกล้ม
 วิ่งหรือก้าวเดินบนพื้นผิวขรุขระ
 ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนจนข้อเท้าแพลง เช่น เทนนิส บาสเก็ตบอล ฟุตบอล
 การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไป
 สวมรองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับขนาดเท้า โดยเฉพาะผู้หญิงที่สวมรองเท้าส้นสูงจะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ข้อเท้าพลิก
 ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุ หรือมีการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้ามาก่อน

 วิธีป้องกันอาการข้อเท้าแพลง
สำหรับการป้องกันสามารถทำได้โดย
1. สวมรองเท้าให้เหมาะสม
2. หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง
3. หากเล่นกีฬาควรสวมรองเท้าให้ถูกต้องตามชนิดของกีฬา
4. หลีกเลียงการเดิน วิ่ง หรือกระโดด บนพื้นที่ไม่เหมาะสม
5. ออกกำลังกายข้อเท้าเป็นประจำ 3 4 วันต่อสัปดาห์

หากมีอาการบาดเจ็บ
ให้ ข้อดี คลินิกกายภาพบำบัด ดูเเลคุณนะคะ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy